มาทำความรู้จักการ์ดจอ (GPU) กันเถอะ
ตั้งแต่อดีตโน๊ตบุ๊คนั้นถูกผลิตมาเพื่อใช้งานนอกสถานที่เป็นหลัก แต่ในปัจจุบันโน๊ตบุ๊คเริ่มจะเป็นที่นิยมมากกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะไปเสียแล้ว จึงทำให้เริ่มมีการนำการ์ดจอที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าไปในตัวโน๊ตบุ๊ต เพื่อให้โน๊ตบุ๊คสามารถใช้งานในด้าน 3มิติ หรือเล่นเกมที่ต้องใช้งานการ์ดจอประสิทธิภาพสูง เพื่อให้ได้การประมวลผลภาพที่รวดเร็วและดียิ่งขึ้น เพราะโน๊ตบุ๊คสำหรับเล่นเกมนั้นหัวใจสำคัญอยู่ที่การ์ดจอนั่นเอง โดยบทความนี้พาคุณไปรู้จักกับการ์ดจอแยกและออนบอร์ด ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ถ้าจะนำไปเล่นเกมควรจะเลือกการ์ดจอแบบไหน พร้อมกับแนะนำการ์ดจอรุ่นเด่นๆในปัจจุบันครับ
รู้จักกับ การ์ดจอแยก และ การ์ดจอออนบอร์
การ์ดจอ หรือ ชิปกราฟิค (GPU : Graphics Processing unit) โดยคำที่ได้ยินบ่อยเวลาเราไปเดินเลือกซื้อโน๊ตบุ๊ค คือ การ์ดจอแยก หมายถึงโน๊ตบุ๊คเครื่องนั้นได้ติดตั้งการ์ดจอแยกมาที่ตัวเครื่อง โดยจะทำให้โน๊ตบุ๊คเครื่องนั้นมีประสิทธิภาพในการประมวลผลภาพที่มากขึ้นนั่นเอง เช่น การเล่นเกม 3 มิติรุ่นใหม่ๆ หรือจะเป็นการทำงานด้านการออกแบบต่างๆ ซึ่งการทำงานของการ์ดจอแยกนั้น จะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า การ์ดจอออนบอร์ดที่สามารถใช้งานได้ขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อดีเลยซะทีเดียว ถึงแม้จะใช้งานได้ทั่วๆไปก็ตาม การ์ดจอออนบอร์ดก็ประหยัดไฟกว่าการ์ดจอแยกครับ อย่างไรก็ตามผู้ซื้อนีตบุ๊คจะไม่สามารถกำหนดสเปคตามที่ตัวเองต้องการได้ เพราะผู้ผลิตได้กำหนดมาจากโรงงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น การเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คพร้อมการ์ดจอที่ถูกใจ จำเป็นต้องพิจารณาดีๆ ในหลายส่วนประกอบกัน ก่อนที่จะตัดสินซื้อ เพราะการ์ดจอก็สำคัญไม่แพ้ ซีพียู เช่นกัน
การ์ดจอ ออนบอร์ด
การ์ดจอออนบอร์ดส่วนใหญ่จะพบในโน๊ตบุ๊ค 2 กลุ่มหลักๆคือ โน๊ตบุ๊คราคาประหยัด และโน๊ตบุ๊คที่เน้นพกพานั่นเองครับ โดยโน๊ตบุ๊คทั้ง 3 กลุ่มนั้นมีราคาที่แตกต่างกันออกไป สำหรับโน๊ตบุ๊คราคาประหยัดนั้นเลือกใช้การ์จอออนบอร์ดก็เพื่อลดต้นทุนในการผลิต และส่วนอื่นๆภายในตัวเครื่องก็จะมีต้นทุนไม่สูงมากนัก จึงมีประสิทธิภาพในการทำงานขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่ในปัจจุบันก็มีการ์ดจอ ออนบอร์ดที่สามารถเล่นเกมได้แล้ว คือ Intel GMA 3000 รุ่นใหม่จาก Intel ที่สามารถเล่นเกมระดับกลางๆ ได้ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้
ในส่วนของโน๊ตบุ๊ตสำหรับพกพา จะเน้นในเรื่องของการประหยัดพลังงาน จึงนิยมใช้การ์ดจอประหยัดพลังงานควบคุ่ไปกับส่วนประกอบอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานสูงกว่าโน๊คบุ๊คทั่วๆไป จึงทำให้โน๊ตบุ๊คกลุ่มนี้มีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย โดยการใช้งานในการ์ดจอระดับนี้จะเหมาะกับการใช้งานเบาๆ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมบนเว็บไซต์ พิมพ์งานเอกสาร เป็นต้น ไปดูกันดีกว่าครับว่ามีการ์ดจอแบบออนบอร์ดรุ่นไหน น่าสนใจกันบ้าง
ตัวอย่างการ์ดจอ ออนบอร์ด
การ์ดจอแยก
สำหรับการ์ดจอแยกนั้นจะพบในโน๊ตบุ๊คที่มีประสิทธิภาพสูงพอสมควร เนื่องจากการ์ดจอแบบแยกมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าการ์ดจอแบบออนบอร์ด จึงทำให้โน๊ตบุ๊คที่มีการ์ดจอแบบแยก จะมีราคาที่สูงตามขึ้นไปด้วย อย่างไรก็ตามราคาที่เพิ่มขึ้นมาของการ์ดจอแบบแยกนั้น สิ่งที่ได้กลับมาก็คือประสิทธิภาพในการประมวลผลภาพที่สูงขึ้นตามไปด้วย เพราะการ์ดจอแบบแยกทำงานได้รวดเร็วกว่า และมีประสิทธิภาพที่มากกว่าการ์ดจอแบบออนบอร์ด ทำให้การใช้งานหนักๆ ไม่มีติดขัดแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมภาพแบบ 3มิติ หรือจะเป็นการทำงานด้านตัดต่อ หรือ กราฟิค ที่มีความละเอียดสูง ก็สามารถทำได้อย่างไม่มีติดขัด แต่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย ก็คือร์ดจอแบบแยกมีอัตราการกินไฟที่เยอะกว่าการ์ดจอแบบออนบอร์ดทำให้ระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่มีน้องลง และยังมีความร้อนที่สูงกว่าอีกด้วย อย่างไรก็ตามการ์ดจอแบบแยกก็ยังเป็นที่นิยมในปัจจุบันอยู่ดี สำหรับยี่ห้อที่เป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้คงจะเป็นใครไม่ได้นอกเสียจาก 2 ยักษ์ใหญ่ อย่าง nVidia และ AMD/ATI ที่เป็นคู่แข่งกันตลอดมา
ส่วนประกอบการ์ด
1.อินเตอร์เฟส (Interface) หรือระบบบัสของตัวการ์ด
เป็นส่วนที่ใช่เชื่อมต่อเข้ากับระบบบัสที่อยู่บนเมนบอร์ด มีลักษณธเป็นแถบทองแดงยื่นออกมาด้านข้างของตัวการ์ด ใช้เสียบลงบนช่องเสียบ (Slot) บนเมนบอร์ดที่เป็นชนิดเดียวกันกับตัวการ์ด ปัจจุบันการ์ดจอมีอินเตอร์เฟสให้เลือกใช้อยู่2 แบบคือ AGP และ PCI Express
2.ชิปประมวลผลกราฟิก (GPU: Graphic Proessing Unit)
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดบนตัวการ์ด ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลด้านกราฟิกโดยเฉพาะ ซึ่งช่วยลดภาระในการทำงานของซีพียูลงรวมทั้งเพิ่มความเร็วในการแสดงภาพ 2 และ 3 มิติ ทั้งภาพนิ่งและภาพเครื่องไหวบนจอแสดงผลปัจจุบันบริษัทที่แข่งขันกันผลิตชิปประมวลผลกราฟิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำไปใช้ประมวลผลภาพกราฟิกแบบ 3มิติสำหรับเกมต่างๆที่ผู้ใช้โดยทั่วไปไปรู้จักกันดีมีอยู่ 2 บริษัทใหญ่ คือ nVIDIA ผุ้ผลิตชิปประมวลผลกราฟิกในตะกูลGeForce ซีรี่ส์ต่างๆ เช่น Series 7 และ 6 รุ่น 7950, 7900, 6800 และ 6600 เป็นต้น และ บริษัท ATI ผูเผลิตชิปประมวลผลกราฟิกในตระกูล Radeon ซีรี่ส์ต่างๆ เช่น Series X1900, X1800, X800 และ X550 เป็นต้น
3.หน่วยความจำบนตัวการ์ด (VIRAM : Video RAM)
ทำหน้าที่รับเอาข้อมูลภาพที่ถูกส่งมาจากหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) มาพักหรือจัดเก็บไว้ เพื่อจะนำไปแสดงผลบนจอภาพในแต่ละเฟรมหรือเรียกว่าเป็น Frame Buffer นั่นเองหน่วยความจำบนตัวการ์ดนี้จะคอยทำงานร่วมกับหน่วยประมวลผลกราฟิก(GPU) อยู่อย่างใกล้ชิดแบบเดียวกับหน่วยความจำหลัก หรือแรมบนเมนบอร์ดทำงานร่วมกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ดังนั้นถ้า VRAM ยังมีความเร็วและมีความจุสูงมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีตั่งแต่ SDRAM, RDRAM, DDR-SDRAM, DDR2 และ DDR3 (GDDR3) ซึ่งแต่ละชนิดต่างก็มีประสิทธิภาพ และราคาที่แตกต่างกันไป
4.ตัวแปลงสัญญาณสู่จอภาพ (RAMDAC)
RAMDAC หรือ RAM Digital-to-Analog Convertor เป็นชิปที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิตอลใน RAM ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกเพื่อส่งไปยังจอภาพ โดยการวนอ่านข้ อมูลซ้ำๆกันไปเรื่อยๆตามอัตรา Refresh Rate ซึ่งยิ่งตั่งให้สูงเท่าไรก็ต้แงทำงานเร็วขึ้นเท่านั้น เช่น Refresh Rate 75 Hz ก็คือ RAMDAC จะต้องวนอ่านข้อมูลไปสร้างภาพซ้ำๆกัน 75 ครั้งต่อวินาทีตามไปด้วย ดังนั้นยิ่ง RAMDAC มีความเร็วสูงมากก็ยิ่งรับ Refresh Rate ได้สูงตามไปด้วย เช่น RAMDAC ที่ 300 MHz ก็น่าจะให้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่ารุ่นที่มีความเร็วแค่ 150 MHz เป็นต้น
หากอยากรู้เกี่ยวกับการเลือการ์ดจอและหลักการทำงานควรชมคลิปวิดิโอนี้
https://www.youtube.com/watch?v=W6sM_ovzbn0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น